วิธีการบ่งชี้วัตถุอันตราย

  1. ชื่อสาร หรือชื่อสินค้าที่ปรากฏบนภาชนะบรรจุขนาดต่างๆ  รวมถึงปรากฏบนแท็งค์ติดตรึง
  2. หมายเลขสหประชาชาติ 4 หลัก [UN Number]
  3. ข้อมูลจากฉลาก ป้าย ของสารนั้น
    • US NFPA 
      system of hazard classification & Communication
      US NFPA (US National Fire Protection Association)
    • GHS HAZARD COMMUNICATION
      1. GHS Pictograms
      2. ดู ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย พ.ศ. 2555
    • ข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี SAFETY DATA SHEET (SDS) จำนวน 16 ข้อ
      1. ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี และข้อมูลบริษัทผู้ผลิตและจำหน่าย (Identification of the Substance/ Preparation and of the the company / undertake)
      2. ข้อมูลระบุความเป็นอันตราย (Hazards Identification)
      3. ส่วนประกอบ / ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม (Composition / Information on ingredients)
      4. มาตรการปฐมพยาบาล (First and Measures)
      5. มาตรการผจญเพลิง (Fire – Fighting Measures)
      6. มาตรการเมื่อมีอุบัติเหตุสารรั่วไหล (Accidental Release Measures)
      7. ข้อปฏิบัติการใช้ และการเก็บรักษา (Handling and Storage)
      8. การควบคุมการสัมผัสสาร / การป้องกันส่วนบุคคล (Exposure Controls / Personal Protection) 
      9. คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี (Physical and Chemical Properties)
      10. ความเสถียรและความไวต่อการเกิดปฏิกิริยา (Stability and Reactivity)
      11. ข้อมูลทางพิษวิทยา (Toxicological Information)
      12. ข้อมูลเชิงนิเวศน์ (Ecological Information)
      13. มาตรการกำจัด (Disposal Considerations)
      14. ข้อมูลการขนส่ง (Transport Information)
      15. ข้อมูลเกี่ยวกับกฏระเบียบและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง (Regulatory Information)
      16. ข้อมูลอื่น ๆ (Others Information) 

  4. รูปร่าง รูปทรง ของบรรจุภัณฑ์ ควรอยู่ในสภาพที่ดีพร้อมใช้งาน ไม่มีร่องรอยความเสียหาย ไม่มีอาการบวมในกรฎณีที่บนบรรจุภัณฑ์ชนิดถังพลาสติกหรือโลหะ 
  5. ป้ายแสดงความเป็นอันตรายหรือรูปสัญลักษณ์และประเภทสินค้าอันตราย
ประเภทสินค้า (Class) ความเสี่ยง การปฏิบัติเบื้องต้น
1. วัตถุระเบิด 
(1.1, 1.2, 1.3)
อาจระเบิด รัศมีการกระเด็น 1,600 เมตร หรือมากกว่า ถ้ามีเพลิงไหม้ อาจเกิดก๊าซพิษหรือก๊าซกัดกร่อนจากการเผาไหม้  กั้นเขตอย่างน้อย 80 เมตร หากมีเพลิงไหม้ให้ปิดการจราจร ห้ามดับไฟหากเกิดเพลิงไหม้บริเวณที่มีสินค้าประเภทนี้
1. วัตถุระเบิด
(1.5, 1.6)
อาจระเบิด รัศมีการกระเด็น 1,600 เมตร หรือมากกว่า ถ้าเพลิงไหม้ อาจเกิดก๊าซพิษหรือก๊าซกัดกร่อนจากการเผาไหม้ กั้นเขตอย่างน้อย 80 เมตร หากมีเพลิงไหม้ให้ปิดการจราจร ห้ามดับไฟหากเกิดเพลิงไหม้บริเวณที่มีสินค้าประเภทนี้
1. วัตถุระเบิด
ที่มีอันตรายจากการระเบิดไม่ชัดเจน 
(1.4)
อาจระเบิด รัศมีการกระเด็น 500 เมตร หรือมากกว่า ถ้าเพลิงไหม้ อาจเกิดก๊าซพิษหรือก๊าซกัดกร่อนจากการเผาไหม้ กั้นเขตอย่างน้อย 250 เมตร หากมีเพลิงไหม้ให้ปิดการจราจร ห้ามดับไฟหากเกิดเพลิงไหม้บริเวณที่มีสินค้าประเภทนี้
2.1 ก๊าซไวไฟ อยู่ในสถานะของเหลว ภายใต้ความดัน / ละลาย / อุณหภูมิต่ำ 
(2.1)
ไวไฟอย่างมาก ภาชนะบรรจุอาจระเบิดได้ ไอระเหยมีฤทธิ์กัดกร่อน หากสัมผัสกับก๊าซ หรือ ก๊าซเหลวอาจเกิดการไหม้ กิดบาดแผลร้ายแรง / และ/ หรือบาดแผลจากความเย็น กั้นเขตอย่างน้อย 200 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ
2.2  ก๊าซไม่ไวไฟ อยู่ในสถานะของเหลว ภายใต้ความดัน / ละลาย / อุณหภูมิต่ำ 
(2.2)
ไอระเหยอาจทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะหรือ Asphyxiation โดยไม่มีอาการเตือน สัมผัสก๊าซเหลว อาจเกิดบาดแผลจากความเย็น  กั้นเขตอย่างน้อย 25 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ
2.3 ก๊าซพิษ ออยู่ในสถานะของเหลว ภายใต้ความดัน / ละลาย / อุณหภูมิต่ำ
(2.3)
เป็นพิษ อาจหมดสติหากสูดดมหรือได้รับสารเข้าทางผิวหนัง หากสัมผัสก๊าซ อาจได้รับบาดแผลร้ายแรง และ/ หรือบาดแผลจากความเย็น  กั้นเขตอย่างน้อย 200 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ
ทำให้การระบายอากาศหากเป็นพื้นที่ปิด 
 
3. ของเหลวไวไฟ ไวไฟอย่างมาก ความร้อนประกายไฟหรือเปลวไฟ ทำให้เกิดการลุกไหม้ได้ ไอระเหยอาจกระจายไปยังแหล่งกำเนิดไฟและลุกไหม้กลับไปยังภาชนะบรรจุได้   กั้นเขตอย่างน้อย 50 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ ทำให้การระบายอากาศหากเป็นพื้นที่ปิด
4.1 ของแข็งไวไฟ  เมื่อร้อน ไอระเหยอาจรวมตัวเป็นส่วนผสมในอากาศที่ระเบิดได้ อันตรายจากการระเบิดทั้งภายใน ภายนอกและในท่อ เป็นพิษ ทางระบบหายใจ การกินหรือทางผิวหนัง เมื่อสัมผัสกับสารจะได้รัลลาดเจ็บหรือตายได้  กั้นเขตอย่างน้อย 50 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ ทำให้การระบายอากาศหากเป็นพื้นที่ปิด
4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้  ไวไฟอย่างมาก เกิดการลุกไหม้ได้เองหากสัมผัสกับอากาศ ลุกไหม้อย่างรวดเร็ว เมื่อลุกไหม้จะให้ไอระเหยอย่างมากเป็นควันขาว ระคายเคือง หากสัมผัสกับสารอาจเกิดบาดแผลจากการไหม้ผิวหนัง หรือตา อย่างรุนแรง  กั้นเขตอย่างน้อย 150 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ
4.3 สารเมื่อสัมผัสน้ำให้ก๊าซไวไฟ  อาจเกิดการลุกไหม้เมื่อสัมผัสน้ำ หรือความชื้นในอากาศ บางชนิดอาจรุนแรง หรือระเบิดเมื่อสัมผัสกับน้ำ เป็นพิษสูงเมื่อสัมผัสกับน้ำจะให้ก๊าซพิษ อาจหมดสติ หากสูดดมก๊าซเข้าไป  กั้นเขตอย่างน้อย 150 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ ทำการระบายอากาศเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุ
5.1 สารอ๊อกซิไดซ์ สารประเภทนี้จะทำให้การลุกไหม้รุนแรงมากยิ่งขึ้น อาจทำให้เชื้อเพลิงอื่น (ไม้ กระดาษ น้ำมัน ผ้า อื่น ๆ ) ติดไฟได้ ไอระเหยและผง ฝุ่น เป็นพิษ หากเป็นพื้นที่แคบจำกีด อาจเพิ่มความรุนแรงได้  กั้นเขตอย่างน้อย 100 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ ทำการระบายอากาศเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุ
5.2 สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ สารพวกนี้มีความไวต่ออุณหภูมิ อาจลุกไหม้อย่างต่อเนื่องหากสัมผัสกับอากาศ อาจทำให้เกิดก๊าซพิษและก๊าซกัดกร่อนจากการลุกไหม้  กั้นเขตอย่างน้อย 100 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ 

 
เรื่องน่ารู้อื่นๆ